วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

5 วิธีเตรียมรับมือบ้านรั่วซึมช่วงฝนตก

 

สำหรับในช่วงนี้ที่มีฝนตกอยู่บ่อยครั้ง หลายคนอาจมีความกังวล ถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น  อย่างการเกิดน้ำรั่วซึมภายในบ้านที่พบกันอยู่บ่อยครั้ง  เรียกได้ว่าเป็นของคู่กันเลยก็ว่าได้  วันนี้เราจึงมี 5 วิธีเตรียมรับมือบ้านรั่วซึมช่วงฝนตกมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ






1. ตรวจสอบรอยรั่วซึมและรอยแตกร้าว


สิ่งแรกที่ควรปฏิบัตินั้นก็คือ การตรวจสอบรอยรั่วซึมและรอยแตกร้าวตามบริเวณต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกบ้าน เพื่อทำการแก้ไข ซ่อมแซมโดยเร็วที่สุด  ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจส่งผลเสียมากว่าน้ำรั่วซึม แต่อาจเกิดการทรุดตัวของอาคารหรือบ้านได้นั้นเอง  โดยหลักๆ ที่พบเจอรั่วซึมและรอยแตกร้าวจะมีอยู่ 4 ที่ด้วยกัน คือ


  • หลังคา เป็นอันดับต้นๆ ที่พบเจอน้ำรั่วซึมอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมักเกิดจาก หลังคาเสื่อมสภาพ เนื่องจากใช้งานมาเป็นเวลาที่ยาวนาน จนเกิดเป็นรอยแตก  รวมไปถึงการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธีและการเลือกวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งทำให้อายุการใช้งานนั้นสั้นลง  ทั้งนี้แนะนำให้ควรตรวจเช็คหลังคาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง อีกทั้งอยากให้สังเกตุทุกครั้งเมื่อมีพายุ ลมแรง และพบเศษกระเบื้องหลังคาตกลงมาเป็นสัญญาณชัดเจนว่าน้ำจะรั่วเข้าอย่างแน่นอน




  • ฝ้า สำหรับในส่วนของฝ้าจะมีความเกี่ยวเนื่องมาจากหลังคา ซึ่งหากหลังคารั่ว จะส่งผลกระทบมายังฝ้าด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีการสังเกตง่ายๆ นั้นก็คือ ให้ดูบริเวณฝ้าว่ามีคราบน้ำ หรือฝ้ามีอาการผองหรือไม่ หากมีนั้นแปลว่าหลังคามีการรั่วซึมอย่างแน่นอน และรีบทำการแก้ไขเพื่อป้องกันฝ้าเปื่อยและพังลงมานั้นเอง
  • ผนัง ลักษณะการเช็คจะคล้ายกับฝ้า ซึ่งให้ดูจากคราบน้ำ  การพอง หลุดร่อนของสี และที่สำคัญที่รอยแต่กร้าวที่ต้องเช็คอย่างละเอียด หากพบเจอต้องรีบทำการแก้ไข ซ่อมแซมโดยด่วน
  • ขอบวงกบประตู-หน้าต่าง อีกหนึ่งจุดที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งมักจะเกิดการรั่วซึมบริเวณตามขอบวงกบ เนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างผนังและวงกบประตู-หน้าต่าง นั้นเอง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก

-  การหลุกร่อน และเสื่อมสภาพของซิลิโคนที่ใช้ยาแนวบริเวณขอบอลูมิเนียม แนะนำให้เปลี่ยนเมื่อผ่านไปหลายปี
 
- ฝุ่นเกาะบริเวณร่องระบายน้ำในวงกบทำให้เกิดน้ำขังและอาจจะไหลมาตามรอยต่อของขอบวงกบเข้ามาได้

 
 

ตรวจสอบรอยรั่วซึมและรอยแตกร้าว

ตรวจสอบรอยรั่วซึมและรอยแตกร้าว


Source by forthepeople

 


2. เช็ครอยต่อส่วนต่อเติมต่างๆ


สำหรับบ้านเพื่อนๆ ท่านไหนที่มีการต่อเติมโครงสร้างออกจากตัวบ้าน อาทิ หลังคาโรงจอดรถ กันสาด และห้องต่างๆ   ควรเช็คบริเวณที่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างผนังกับโครงสร้างที่ต่อเติม เพราะในส่วนนี้จะมีรอยต่อ ซึ่งอาจเกิดเป็นช่องว่าง และส่งผลทำให้น้ำรั่วซึมได้
 
ทั้งนี้การต่อเติมไม่ควรทำระดับความสูงที่ชิดกับบริเวณขอบวงกบมากจนเกินไป และควรทำ slope ไม่ต่ำกว่า 5 องศา เพื่อป้องกันน้ำขังและไหลย้อนเข้าภายในบ้านนั้นเอง



เช็ครอยต่อส่วนต่อเติมต่างๆ

เช็ครอยต่อส่วนต่อเติมต่างๆ

Source by deardesigner

 

3. เช็ควัสดุ ความแข็งแรงของหลังคา

 
ไม่ใช่แค่เช็คในส่วนของรอยแตกร้าวเพียงอย่างเดียว แต่ควรเช็คในเรื่องของตัวอุปกรณ์ที่ใช้ยึดหลังคา อย่างน็อต ซึ่งต้องไม่เสียหายและยึดล็อกกับหลังคาได้เป็นอย่างดี ให้มีความแน่นหนาแข็งแรง เพื่อป้องกันการหลุด หรือปลิว ในขณะที่เกิดลมกระโชกแรง



เช็ควัสดุ ความแข็งแรงของหลังคา

เช็ควัสดุ ความแข็งแรงของหลังคา

Source by vandyck-dakwerken.be

 

4. ทำความสะอาดรางน้ำฝนและท่อระบายน้ำอย่าให้อุดตัน


ในส่วนของข้อนี้หลายคนมักมองข้าม ซึ่ง Infinity Design ผ้าม่าน แนะนำให้ทำความสะอาดรางน้ำฝนและท่อระบายน้ำ เพื่อการระบายน้ำที่ดี เพราะส่วนใหญ่มักจะมีเศษไม้  ใบไม้ ติดอยู่ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการอุดตัน
 
สำหรับวิธีการแก้ไขเบื้องต้นจะมีการทำตะแกรงครอบบริเวณด้านบนของราง เพื่อไม่ให้ใบไม้และเศษไม้นั้นเข้าไป แต่ทั้งนี้ก็ควรที่จะหมั่นทำความสะอาดด้านบนตะแกรง เพราะวิธีนี้เป็นเพียงแค่การลดโอกาสการอุดตันที่น้อยกว่าเท่านั้นเอง ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่าง 100%

 
 

ทำความสะอาดรางน้ำฝนและท่อระบายน้ำอย่าให้อุดตัน

ทำความสะอาดรางน้ำฝนและท่อระบายน้ำอย่าให้อุดตัน


Source by cleanproguttercleaning

 

5. ตัดแต่งต้นไม้


ปิดท้ายด้วยการตัดแต่งต้นไม้ ซึ่งถือเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะบ้านเพื่อนๆ ที่มีต้นไม้ใหญ่  ควรตัดแต่งกิ่ง  และทำการยึดบริเวณลำต้นให้เรียบร้อย แข็งแรง เพื่อป้องกันต้นไม้ล้ม เมื่อเกิดลมกระโชกแรง



ตัดแต่งต้นไม้

ตัดแต่งต้นไม้

Source by finegardening


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น